วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

การติดตั้ง Ubuntu Server ใน VirtualBox



สวัสดีค่ะเพื่อนๆ หลังจากหายไปนาน วันนี้มีเรื่องราวดีๆมานำเสนอ 

เป็นวิธีการติดตั้ง Ubuntu Server ใน VirtualBox

หรือเราเรียกมันว่า อูบุนตู ชื่อแปลกๆเนอะ ^^ เพื่อนๆเรียกว่าอะไรกันบ้างเอ่ย ??





อันดับแรก เรามาทำความรู้จักกัน อูบุนตู (Ubuntu) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others" อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 13.4 ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีเกือบทั้งหมด(มีบางส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์ เช่น ไดรเวอร์) โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้ (http://th.wikipedia.org/wiki/อูบุนตู) 


ก่อนอื่นไปดาวน์โหลด Ubuntu กัน Download Ubuntu เลือกเวอร์ชั่นใหนก็ได้นะคะ ถ้าต้องการดาวน์โหลดฟรีให้เลือก Not now, take me to the download




1. เปิดโปรแกรม Oracle VM VirtualBox ขึ้นมาก็คลิกไปตามลำดับภาพเลยค่ะ


2. ตั้งชื่อ และเลือกระบบปฏิบัติการ



3. ตั้งค่าแรม ถ้ามีแรมเยอะก็ตั้งเป็น 1024 MB. ไปเลยจะได้ทำงานเร็วๆ



4. เลือกจำลองฮาร์ดดิส




5. ถ้าต้องการกำหนดพื้นที่ฮาร์ดดิสเองก็ให้เลือก Fixed size



6. กำหนดขนาดเนื้อที่ฮาร์ดดิสที่ต้องการ



7. เลือก Settings 



8. กดเลือกไปตามหมายเลขเพื่อที่จะ mount iso ระบบปฎิบัติการที่เราดาวน์โหลดมา




9. เลือกระบบปฎิบัติการ



10. กด Start เพื่อติดตั้ง


11. กด Install



12. เลือกตามรูป แล้วกด Continue



13. ส่วนนี้เพื่อนๆไม่ต้องตกใจ ไม่ได้ล้างฮาร์ดดิสทั้งหมดของเรา แต่ล้างเฉพาะพื้นที่ส่วนที่ VirtualBox สร้างไว้เท่านั้น กด Continue



14. เลือกที่ตั้งและภาษา




15. ตั้งชื่อ และ พาสเวิร์ด



16. ถึงตรงนี้เพื่อนก็รอก่อนนะคะ อาจจะนานหน่อยแล้วแต่ความเร็วของเครื่อง ถ้าต่อเน็ตก็รวมถึงความเร็วเน็ตด้วย




พอติดตั้งเสร็จแล้วก็ปิดโปรแกรมไปก่อน แล้วเปิดขึ้นมาใหม่ก็กด Start เลยค่ะ
โปรแกรมก็จะรันระบบปฎิบัติการ

แล้วก็จะได้ตามภาพนี้    ทาาาาา......ดาาาาาา......




ขอขอบคุณที่ติดตามจนจบบทความนะคะ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณ Nikhorn



วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

จัดสเปกคอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้เราจะมาพาเพื่อนๆไปลองเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 

เพื่อที่เราจะนำไปประกอบเอง

จะเป็นยังไงกันบ้าง เราตามไปดูกันเลยยยย ย

ก่อนอื่น หากเพื่อนๆต้องการเลือกอุปกรณ์ที่จะนำมาประกอบคอมพิวเตอร์เอง 

>>>>> > http://notebookspec.com/pc

สำหรับเครื่องแรก เราจะมาจัดสเปกคอมพิวเตอร์สำหรับโฮมออฟฟิต ราคาไม่เกิน



นี่คือหน้าตาเว็บไซต์สำหรับผู้ที่อยากจะไปเว็บเอง ขั้นตอนแรก คลิกที่จัดสเปก PC



ถัดมา ให้คลิกที่ปุ่ม จัดสเปก 



ถัดมาให้คลิกเลือกที่ปุ่ม แก้ไข



1.CPU
3,990 บาท
2.Mainboard
1,670 บาท
3.Ram
1,230 บาท
4.VGA Card
2,990บาท
5.Hard disk
3,150 บาท
7.Case
1,900 บาท
8.Power supply
2,160 บาท ราคารวม 17,090

และนี่คือคอมพิวเตอร์จัดสเปกสำหรับโฮมออฟฟิต ราคาไม่เกิน 17,090





--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


2. คอมพิวเตอร์จัดสเปก สำหรับผู้เริ่มเล่นเกมมือใหม่ ราคาไม่เกิน 20,590 บาท




1.CPU
8,600 บาท
2.Mainboard
1,520 บาท
4.VGA Card
2,990บาท
5.Hard disk
3,150 บาท
7.Case
1,450 บาท
8.Power supply
890 บาท




รวมราคา 20,590
ขอขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่านที่อ่านบทความจนจบ หากผิดพลาดในการจัดสเปกสามารถติ ชม ได้ เพราะเป็นมือใหม่เพิ่งเคยจัด 
ไว้เจอกันใหม่ในบล็อกหน้าจะเอาสาระดีๆมาฝาก 
บ๊ายบาย ย













วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

รีวิวการเปิดปิดเครื่องนอกเคส

สวัสดีค่ะ มาพบกันอีกแล้ว วันนี้เรามีความรู้มานำเสนอ นั่นก็คือ...........

การเปิด-ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์นอกเคส หรือไม่ใช้ปุ่ม Power

เพื่อนๆอาจจะงงว่าไม่ใช้ปุ่ม จะเปิดเครื่องได้ยังไง วันนี้เราจะมาทำให้ความรู้เรื่องนี้กันนะคะ 

รับชมเล๊ยย ย




ก่อนอื่นเลย เราต้องรื้อ รื้อๆๆๆ ถอดทุกอย่างออกมาจากเครื่องให้หมดนะคะ วันนี้เคสไม่สำคัญกับเรา 555




เราต้องศึกษาข้อมูลจาก Data Sheet อย่างละเอียดนะคะ ไม่ควรทำโดยไม่ศึกษาน๊า

เราจะเปิดคอมได้อย่างไร ถ้าไม่ใช้ปุ่ม ??

ติ๊กต่อกๆ 

เราจะใช้ไขควงในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง 


นี่ก็คือหน้าตาเมนบอร์ดเครื่องของเราที่ถอดทุกอย่างออกหมดแล้ว


เราจะทำการต่ออุปกรณ์ต่างๆเข้ากับเมนบอร์ด จากนั้นเราจะมาลองเปิดเครื่องกัน


เราจะใช้ไขควง แตะไปที่ขาสีดำๆของเมนบอร์ เมนบอร์ดของเรามีบอกไว้ว่าให้แตะขาที่ 6 และ 8 จะเป็นการเปิดเครื่อง 

ตามมาดูผลกัน

v
v
v
v


สำเร็จ !! พัดลมเครื่องเราหมุนแล้วจ้า


เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราติดแล้ว


ฝากติดตามบทความของเราในครั้งหน้าด้วยนะคะ เราจะมีความรู้ใหม่ๆมาฝากบ่อยๆ

บ๊ายบาย ^^






กระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ

 วันนี้มีความรู้ใหม่มาฝากอีกแล้ว เป็นการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

อ๊ะๆ !! อย่าเพิ่งคิดว่าการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดา ใครๆก็รู้ 

แต่เรามีความรู้ที่น่าสนใจกว่านั้นมาฝาก

ติดตามกันได้เลยค่ะ







การตรวจสอบตนเองก่อนเปิดเครื่อง(Power-On-Self-Test)

เมื่อคุณเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ คุณจะสังเกตเห็นว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เป็นเวลาหลายวินาที จริงๆ แล้ว คอมพิวเตอร์ของคุณนั้นไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่กำลังทำงานอยู่ งานที่เป็นงานซับซ้อน ประกอบด้วยการจัดการสิ่งต่างๆ มากมาย เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นทำงานอย่างถูกต้อง และตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์อะไรต่ออยู่กับตัวมันเองบ้าง และถ้ามีบางอย่างผิดพลาดคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงข้อความเตือนขึ้นมา การทำงานดังกล่าวนี้เป็นการเริ่มต้นของการทำงานที่ซับซ้อนต่างๆ มากมาย เราเรียกกระบวนการนี้ว่า การบูตอัพ (boot-up) หรือเรียกสั้นๆ ว่า การบูต (boot) ขั้นตอนการบูตเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งเป็นขั้นตอนการดึงระบบปฏิบัติที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องมาทำงาน ระบบปฏิบัติการเป็นชุดของคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์ โปรแกรมประยุกต์ และมนุษย์



แต่ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะดึงระบบปฏิบัติการมาทำงานนั้น มันจะต้องแน่ในก่อนว่าอุปกรณ์ต่างๆ นั้นทำงานถูกต้อง และซีพียูและหน่วยความจำทำงานถูกต้อง การทำงานดังกล่าวเรียกว่า การตรวจสอบตนเองก่อนเปิดเครื่อง (POST ย่อมาจาก Power-On-Self-Test)

กระบวนการ power on self test (POST) ของเมนบอร์ด คือ การตรวจสอบความพร้อมของระบบโดยรวมของตัวเมนบอร์ดและอุปกรณ์ที่สำคัญของระบบ ก่อนที่จะทำการ เริ่มระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ถ้ากระบวนการ power on self test ทำงานได้ไม่สมบูรณ์ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามจะไม่สามารถเริ่มระบบปฏิบัตการได้ (ระบบปฏิบัติการ หรือ Operatinng system คือส่วนของโปรแกรมระบบ เช่น วินโดว์ ดอส หรือ โอเอสทู ลีนุกส์ เป็นต้น)กระบวนการ Power on self test เรื่มเมือใด?กระบวนการ power on self test จะเริ่มทำงานทันทีทีทำการ เปิดสวิทซ์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (power on) แล้วจะเริ่มทำการตรวจสอบส่วนประกอบพิ้นฐานสำคัญต่างๆของคอมพิวเตอร์


1.เมื่อเปิดเครื่องกระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นให้ซีพียูเริ่มทำงาน โปรแกรมถาวรที่ฝังภายในตัวซีพียูจะเริ่มทำงานโดยการล้างหน่วยความจำภายในซีพียู หรือที่เรียกกันว่า รีจิสเตอร์ (register) ให้ว่างเปล่า จากนั้นกำหนดให้ริจิสเตอร์ตัวหนึ่งที่ชื่อว่าโปรแกรมเคาร์เตอร์มีค่าตำแหน่งเฉพาะค่าหนึ่ง (program counter ทำหน้าที่จดจำหมายเลขหน่วยความจำที่จะทำการดึงคำสั่งโปรแกรมขึ้นมาทำงาน) โดยถ้าเป็นเครื่องรุ่นAT จะเริ่มทำงานที่แอดเดรสหรือตำแหน่งที่เลขฐานสิบหกที่ F000 ซึ่งเป็นตำแหน่งเริ่มต้นของโปรแกรมบูตนั่นเอง ข้อสังเกต เราจะใส่โปรแกรมบูต ส่วนแรกลงในหน่วยความจำถาวรที่เรียกว่า รอม (ROM :Read-Only Memory ) และส่วนที่สองลงในแผ่นดิสก์ที่มีโอเอส ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องโปรแกรมก็ยังคงไม่หายไปไหน เมื่อกลับมาเปิดเครื่องใช้ใหม่ ซีพียูก็จะสามารถอ่านโปรแกรมบูตนี้ได้เหมือนเดิม รอมที่ว่านี้อาจเรียกว่า ไบออส (BIOS : Basic Input/Output System) ก็ได้


2. ซีพียูใช้ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงครั้งแรกนี้ เรียกคำสั่งแรกของโปรแกรมบูตของรอมไบออสขึ้นมา ซึ่งเท่ากับเป็นการเริ่มการบวนการ โพสต์โดยเริ่มแรกจะเป็นคำสั่งให้ซีพียูทำการตรวจสภาพตัวซีพียูเองว่าสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นโปรแกรมก็จสั่งให้ซีพียูลองย้อนกลับไปตรวจสอบโปรแกรมโพสต์ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยการอ่านพื้นที่หลาย ๆ พื้นที่ของโปรแกรมภายในรอม แล้วลองเทียบกับตัวเลขที่ตอนบันทึกไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มสร้างรอม


3. ซีพียูส่งสัญญาณไปทั่วระบบบัสเพื่อให้มั่นใจว่าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ busคือ กลุ่มของสายไฟที่ใช้เป็นเส้นส่งถ่ายคำสั่งและข้อมูลระหว่างชิ้นส่วนหรือระหว่างซีพียูกับชิ้นส่วนต่าง ๆหรืออาจกล่าวว่า บัส หมายความว่า วงจรไฟฟ้าเชื่อมชิ้นส่วนที่สำคัญต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ 



4. ซีพียูทำการตรวจว่ามีโปรแกรมภาษาเบสิกอยู่หรือไม่ และสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นจะหันไปทำการตรวจสอบตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิการ (timer) ซึ่งบางทีเราจะเรียกว่าคริสตัล (crytal) ทั้งนี้ให้มั่นใจว่าจะทำงานเพรียงกันได้อย่างสมบูรณ์ (ตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิกาจะเป็นตัวกำหนด จังหวะการทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตัวซีพียู และเจ้าตัวนี้เองที่มีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHZ) เช่น เครื่อง 486-50 ก็มักหมายความว่าเป็นเครื่องพีซีที่ใช้คริสตัลความเร็ว 50 เมกะเฮิรตซ์ หรือทำงาน 50 ล้านจังหวะต่อวินาทีนั่นเอง )



5. ต่อมากระบวนการ โพสต์ก็จะทำการตรวจหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล (Monochrome, EGA,VGA ฯลฯ) และสัญญาณภาพ (video signal) เมื่อพบว่าสมบูรณ์ก็จะนำโปรแกรมไบออสที่อยู่บนการ์ดแสดงผลมาผนึกรวมเป็นส่วนหนึ่งของไบออสระบบและกำหนดคุณสมบัติให้กับหน่วยความจำ ถึงตอนนี้คุณจะเริ่มเห็นอะไรบางอย่างปรากฏที่จอมอนิเตอร์เป็นครั้งแรก


6. โพสต์จะทำการตรวจสอบหน่วยความจำหลักที่อยู่บนเมนบอร์ดซึ่งมักจะเป็นแรม (RAM) การทดสอบทำได้โดยการเขียนข้อมูลลงแรม แล้วทดสอบอ่านกลับดูว่าเหมือนกับข้อมูลที่เขียนลงไปในครั้งแรกหรือไม่ในช่วงนี้เองที่ผู้ใช้จะเห็นตัวเลขวิ่งที่หน้าจอ


7. ซีพียูตรวจว่ามีคีย์บอร์ดเสียบอยู่หรือไม่ และมีใครกดปุ่มคีย์ไหนค้างอยู่


8. โพสต์จะส่งสัญญาณไปยังบัสของดิสก์ไดร์ฟต่าง ๆ และฟังสัญญาณโต้กลับว่าไดร์ฟไหนพร้อมที่จะทำงาน


9. สำหรับเครื่อง AT หรือเครื่องรุ่นใหม่ ๆ กระบวนการโพสต์จะทำการเปรียบเทียบผลการตรวจสอบอุปกรณ์กับข้อมูลที่บันทึกไว้ในซีมอส (CMOS) ถ้าข้อมูลไม่ต้องกับที่โพสต์ตรวจสอบมา โพสต์ก็อาจจะเข้าสู่โปรแกรมเซตอัปเพื่อให้เรากำหนดชนิดของอุปกรณ์ใหม่ (ซีมอสเป็นชนิดของชิปหน่วยความจำ มันสามารถเก็บข้อมูลได้นานตราบเท่าที่เราป้อนไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ให้) อนึ่ง ข้อมูลภายในซีมอสจะไม่หายไปเมื่อมีการปิดไฟเครื่อง แต่จะหายไปได้ในกรณีที่เราใช้แบตเตอรี่มานาน แล้วแบตเตอรี่ไฟหมด (เครื่องพีซีรุ่น XTจะไม่มีหน่วยความจำซีมอสนี้)



10. บางเครื่องที่มีการใส่อุปกรณ์ที่มีไบออสของมันเอง เช่น การ์ดควบคุมดิสก์ชนิด SCSI (อ่านว่าสกัสซี่)โปรแกรมไบออสของการ์ดหรืออุปกรณ์เหล่านี้จะถูกจดจำและผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของไบออสระบบ ก่อนที่เครื่องพีซีจะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปในการบูต ซึ่งเป็นการโหลดหรือบรรจุโอเอสจากดิสก์ลงสู่หน่วยความจำ




ประเภทของการบู๊ตเครื่อง ดังที่อธิบายแล้วว่าการบู๊ตเครื่อง คือ ขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มทำการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำ RAM ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น2ลักษณะด้วยกันคือ
  • โคลด์บู๊ต ( Cold boot ) หรือเรียกว่าบู๊ตเย็น เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง ( Power On ) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
  • วอร์มบู๊ต ( Warm boot ) หรือเรียกว่าบู๊ตอุ่น เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง ( restart ) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้สามวิธีคือ
  • กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
  • กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้
  • สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ


ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านบล็อกจนจบกันนะคะ ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะเปิดเครื่องนี่ผ่านกระบวนการมากมายเลย ไว้ครั้งหน้าจะเอาความรู้ดีๆแบบนี้มาฝากอีกนะคะ บ๊ายบาย ^^


รีวิวถอดประกอบคอม

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ

 วันนี้มีความรู้ใหม่ๆมาฝากเพื่อนๆเช่นเคย ติดตามได้ในวิดีโอด้านล่างนี้เลยนะคะ ^^

v
v
v
v



วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รีวิวการเปลี่ยนพัดลม power supply



กลับมาพบกันอีกแล้ว วันนี้มีประสบการณ์ดีๆ ที่น่าสนใจมาฝากเพื่อนๆผู้ชมบล็อก ครั้งนี้เราจะมาทำการรีวิวเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซับพลายกันนะคะ อ้ะๆๆๆ ก่อนจะรีวิว ต้องมาพบกับผู้ร่วมชะตากรรมในการเปลี่ยนพัดลมก่อนกันก่อน 



ไม่มีรูปเดี่ยวขอเป็นรูปหมู่ละกันนะคะ

คนแรก นางสาวนิภาพร  ทองคำสุข (เสื้อสีม่วงด้านขวา)
คนที่สอง นายกฤตพจน์  พลยศ  (เสื้อสีชมพูตรงกลาง)
คนที่สาม[ผู้เขียนบล็อก] นางสาวจุฑาลักษณ์  ใจชื่น (เสื้อลายทหารด้านซ้าย)

ก่อนจะเปลี่ยนพัดลม เรามาดูอุปกรณ์กันก่อนเลย

1. หัวแร้ง


2. ตะกั่วบัดกรี



3. ฟองน้ำ สำหรับเช็ดทำความสะอาดหัวแร้ง


4. ขี้ผึ้งแบบตลับ สำหรับทำความสะอาดตะกั่วที่ติดกับหัวแร้ง



5. ที่ดูดตะกั่ว



6. ไขควง

ภาพรวมอุปกรณ์
v
v



เริ่มแกะ งัด แงะ เปลี่ยนพัดลมกันเล๊ยยยย ย !!!



เราเริ่มจากการหมุนๆน็อตนำพาวเวอร์ซับพลายออกมาจากตัวเคสก่อน 
 เอ้า หมุนๆๆ




ออกมาแล้ว ^^ 




        เริ่มงัดแงะกันเถอะ 



 ดึงที่ครอบออกกกกก นี่แน่ะ


เกิดความผิดพลาดเล็กน้อย จากการไม่ระวัง ฝาพาวเวอร์ซับพลายบาดนิ้ว เลือดออก แงๆ TT'


เพื่อนบอกว่าจะทำแผลให้  จากนั้น5นาที นิ้วก็ได้กลายเป็นมัมมี่ทันที 555555


เพื่อนๆต้องระวังด้วยนะคะ อุปกรณ์ทุกชนิดมีความอันตราย
บางอย่างอาจถึงแก่ชีวิตได้ ต้องระวังให้มากๆนะ


 ในส่วนของหน้าตาพาวเวอร์ซับพลายด้านใน เป็นแบบนี้นี่เอง ^^






เราจะมาเริ่มทำการบัดกรีกันนะคะ โดยให้เพื่อนๆ สังเกตุสายไฟสีแดงและสีดำ ให้ดูหลังแผงวงจรว่าสายไฟสีแดงและสีดำอยู่ตำแหน่งไหน ก็ทำการบัดกรีสายไฟออกมาค่ะ
(มีเพื่อนกลุ่มอื่นให้ความช่วยเหลือ โดยมาจับสายไฟให้) 
หน้าเพื่อนนี่ลุ้นมากๆ เพื่อนคงคิดในใจ อย่าทำแผงวงจรพังนะ 55555

 ทำความสะอาดหัวแร้งกันหน่อย






วิดีโอระหว่างการทำงาน บัดกรีได้สวยเหมือนคนทำจริงๆ 5555555 
(ไม่มีใครชมเราจงชมตัวเอง)


หลังจากบัดกรีเสร็จแล้วเราจะมาเทสว่าพัดลมใช้ไก้หรือเปล่านะคะ โดยการเอาอุปกรณ์นำไฟฟ้า เช่นแหนบ(แบบที่พวกเราใช้) ไปจี้ที่ Pin14 และ Pin15 หรือลองสังเกตุดูสายไฟจะเป็นสีเขียวและสีดำ ซึ่งเรียงกันเป็นแถวนะคะ







เราจะมาเทสกัน ว่าพัดลมเราติดหรือเปล่า ตามไปดูในวิดีโอกันเลยยยย :)

ลุ้นๆๆๆๆๆๆๆ




เย้ !!!   พัดลมของเราหมุนแล้ว

ภารกิจครั้งนี้ สำเร็จได้ด้วยดี




ขอขอบคุณที่สละเวลามาอ่านบล็อกของเรานะคะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้เยี่ยมชมบล็อกไม่มากก็น้อย บทความต่อไปเราจะนำความรู้มาฝากอีก แต่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรฝากติดตามด้วยนะคะ ก่อนจากกันเรามีรูปมาฝาก

เซลฟี่กันหน่อยพวกเรา ^^






เจอกันใหม่ในบล็อกหน้านะคะ Bye...